top of page

บทสวดบูชาพระพิฆเณศ

  • SARUP Sage
  • Feb 1, 2023
  • 2 min read

พระพิฆเณศ (Ganesha) เป็นเทพเจ้าในศาสนาฮินดู ซึ่งได้รับความนับถืออย่างกว้างขวางในหลายวัฒนธรรม พระองค์เป็นเทพเจ้าแห่งความสำเร็จและปัญญา มักถูกกราบไหว้ก่อนเริ่มต้นงานใหม่หรือโครงการสำคัญใด ๆ โดยเชื่อว่าพระพิฆเนศจะช่วยขจัดอุปสรรคและนำความสำเร็จมาให้ 


Ornate Ganesha statue adorned with a golden crown and colorful garlands, holding weapons and a flower within a richly decorated temple setting.

พระพิฆเณศเป็นเทพเจ้าแห่งปัญญา ความรู้ และความสำเร็จ และการขจัดอุปสรรค พระองค์ได้รับความนับถือเป็นพิเศษในฐานะ "เทพผู้ขจัดอุปสรรค" (Vighnaharta) และมักถูกกราบไหว้ก่อนเริ่มต้นกิจกรรมสำคัญใด ๆ เช่น การเรียน การทำธุรกิจ หรือการประกอบพิธีกรรมทางศาสนา


ลักษณะเด่นของพระพิฆเณศคือพระเศียรเป็นช้าง มีลำตัวเป็นมนุษย์ มักถืออาวุธหรือสิ่งของที่มีความหมายทางศาสนา เช่น ขนมโมทกะ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของความสุขและความเจริญรุ่งเรือง



คำภาวนาก่อนเริ่มบทสวดพระพิฆเนศ

สำหรับชาวพุทธให้ตั้งนะโม 3 จบก่อน แล้วจึงค่อยเริ่มบทสวดพระพิฆเนศ

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (3 จบ) 



คาถาบูชาพระพิฆเนศ (แบบสั้นที่สุด) 

โอม ศรี คเณศายะ นะมะฮา (3, 5, 7, 9 จบ *ตามแต่สะดวก)


คาถาบูชาพระพิฆเนศ (แบบสั้น)

โอม ศรี คเณศายะ นมัช

โอม ศรี มหาคณะปัตเตยะ นมัช

โอม คัม คณะปัตเตยะ นมัช

โอม ศรี วินายะกายะ นมัช


คาถาบูชาพระพิฆเนศ (แบบเต็ม)

โอม ศรีคะเนศายะ นะมะ

ชะยะคะเณศะ ชะยะคะเณศะ ชายะคะเณศะ

เทวา มาตา ชากี ปะระวะตี ปิตามะหา เทวา

ละฑุวัน กาโกคะ ละเค สันตะ กะเร เสวา เอกทันตะ

ทะยาวันดะ จาระ ภุชา ธารี มาเถ สินทูระ เสเห

มูเส กี อะสะวารี อันธะนะ โก อางขะ เทตะโก กายา

พามณะนะ โก กุตรระ เทตะ โกทินะ นิระ ทะนะ มายาฯ

โอม ศรีคะเนศายะ นะมะหะ


(หลังจากสวดคาถาเสร็จให้กล่าวคำว่า "โอม ศานติ...โอม ศานติ...โอม ศานติ" เพื่อขอความสันติให้บังเกิด)


คาถาบูชาพระพิฆเนศ สวดทุกวันเพื่อเป็นสิริมงคล

โอม พระพิฆเณศวร

สิทธิประสิทธิเม มหาลาโภ

ทุติยัมปิ พระพิฆเณศวร

สิทธิประสิทธิเม มหาลาโภ

ตะติยัมปิ พระพิฆเณศวร

สิทธิประสิทธิเม มหาลาโภ

(เป็นบทสวดของไทย สวดทุกวันเพื่อเป็นสิริมงคล)


คาถาบูชาพระพิฆเนศ เพื่อขอพรหรือปัดเป่าเหตุร้าย

โองการพินธุ นาถังอุปปันนัง พรหมมะโน จะอินโธ

พิฆฆะเนศโต มหาเทโว อะหังวันทา มิสัพพะทา สิทธิกิจจัง

สิทธิกัมมัง สิทธิการิยัง ประสิทธิเม

(พระพิฆเณศวร์ คาถาพระพิฆเณศวร์ใช้สวดเพื่อขอพรหรือปัดเป่าเหตุร้าย)


คาถาบูชาพระพิฆเนศ เพื่อพ้นจากอุปสรรค ประสบความสำเร็จ

โอม ศรีคะเนศายะนะมะ

ชะยะคะเณศะ ชะยะคะเณศะ ชายะคะเณศะ

เทวา มาตา ชากี ปะระ วะตี ปิตามะหา เทวา ละฑุวัน

กา โกคะ ละเค สันตะ กะเร เสวา เอก ทันตะ

ทะยาวันดะ จาระ ภุชา ธารี มาเถ สินทูระ เสเห

มูเส กี อะสะวารี อันธะนะ โก อางขะ เทตะ

โก กายา พามณะนะ โก กุตรร เทตะ

โกทินะ นิระทะนะ มายาฯ

(คาถาบูชาพระพิฆเนศ ใครบูชาจะพ้นจากอุปสรรค ประสบความสำเร็จ)


คาถาบูชาพระพิฆเนศ 8 บท 

โอม พูตายะ นะมะหะ

โอม ภัคตะวิฆนะ วินาศิเน นะมะหะ

โอม วิฆะณะราชายะ นะมะฮหะ

โอม ศุธิปริยายะ นะมะหะ

โอม ศริษายะ นะมะหะ

โอม สธิรายะ นะมะหะ

โอม สมาหิตายะ นะมะหะ

โอม สมุยายะ นะมะหะ 


ของบูชาพระพิฆเนศ

  • เครื่องดื่ม: น้ำอ้อย, นมรสจืด หรือโยเกิร์ตรสธรรมชาติ

  • ดอกไม้หรือพวงมาลัย

  • ผลไม้มงคล เช่น กล้วย มะพร้าว อ้อย สับปะรด ส้ม

  • ขนมหวาน เช่น ขนมลาดูโมทกะ, ขนมโมทกะ, ขนมต้มแดง, ขนมต้มขาว และขนมหวานลาดูป 


สำหรับของไหว้พระพิฆเนศ ห้ามใช้เนื้อสัตว์ทุกชนิด (สามารถใช้ขนมที่มีส่วนผสมของไข่ได้บ้าง แต่ถ้าเลี่ยงได้ก็ควรเลี่ยง)


วันสำคัญที่ใช้ในการบูชา

วันสำคัญของพระพิฆเณศวรจพมีด้วยกัน 2 วัน ซึ่งทั้ง 2 วันดังกล่าวเป็นวันประสูติของพระพิฆเณศวร ได้แก่ "วันคเณศชยันตี" และวัน "คเณศจตุรถี” แต่ต่างกันที่เวลา


วันคเณศชยันตี จะตรงกับวันขึ้น 4 ค่ำ ตามปฏิทินฮินดู ในช่วงกลางเดือนมกราคมถึงเดือนกุมภาพันธ์ เป็นวันคล้ายวันประสูติของพระพิฆเนศ แต่องค์ท่านต้องอวตารมาปราบอสูรสองพี่น้องผู้มีฤทธิ์มาก นามว่า “เทวานฺตกะ” และ “นรานฺตกะ”


ซึ่งทั้งสองได้บำเพ็ญพรตจนได้รับพรจากพระศิวะว่า ขอไม่ให้ตายด้วยน้ำมือเทวดา กษัตริย์ ยักษ์ รากษัส ปิศาจ มนุษย์นาค คนธรรพ์ นางอัปสร กินนร รวมไปถึงศาสตราวุธคมหอกคมดาบทุกชนิด สัตว์ร้ายในป่า สัตว์ที่เลี้ยงตามหมู่บ้าน ภูติผีดาวนพเคราะห์ ดาวนักษัตร อีกทั้งไม่ตายจากโรคภัยไข้เจ็บ พยาธิและแมลงทุกชนิด และ ไม่มีวันตายทั้งในกลางวันและกลางคืน


หลังอสูรทั้งสองได้รับพร ก็กลับกลายเป็นคนเกเร เข้าทำสงครามบุกยึดโลกต่างๆ จนไปถึงเทวโลก เทวดาและฤาษี ต้องหลบซ่อนไปอยู่ในโถงถ้ำ นานวันเข้าฝ่ายกองทัพอสูรได้ทำลายศาลาและสถานที่บูชาเทพบนโลกจนเกือบหมดสิ้น เมื่อเทวดาเริ่มอ่อนพลังลงเพราะไม่มีพละกำลัง ไม่การบูชาไม่มีการท่องมนตร์


ฝ่ายพรหมเทพจึงดำริถึงองค์พระมหาคณาธิปติ (พระพิฆเนศ) อวตาร มาแก้ไขสถานการณ์ได้ในที่สุด ซึ่งจะตรงกับวันขึ้น 4 ค่ำเดือน 10 ตามปฏิทินฮินดู ซึ่งอยู่ในช่วงกลางเดือนสิงหาคมและกันยายน


“คเณศจตุรถี” หรือ “วินายกะจตุรถี” เป็นเทศกาลในศาสนาฮินดูที่เฉลิมฉลองการประสูติของพระพิฆเนศ วันแห่งการบูชา เป็นวันสำคัญที่องค์พระพิฆเนศจะเสด็จลงมาประทานพรยังโลกมนุษย์ในทุก ๆ ปี ซึ่งในปีนี้เทศกาลคเณศจตุรถี ปัจจุบันมักนิยมไหว้กัน 3 วัน 7 วัน หรือจัดพิธีใหญ่ 10 วัน - https://www.pptvhd36.com/news/%E0%B9%84%E0%B8%A5%E0%B8%9F%E0%B9%8C%E0%B8%AA%E0%B9%84%E0%B8%95%E0%B8%A5%E0%B9%8C/189048

Comments


ติดต่อเรา
253 อาคาร 253 อโศก ชั้น 29
แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กทม. 10110
ติดต่อโฆษณา 084-691-6161

สรุปเรื่องเด่น

นโยบายความเป็นส่วนตัว

สรุปไปเรื่อย

นโยบายคุกกี้

สรุปไลฟ์

สรุปเกมมิ่ง

  • Instagram
  • Facebook
  • Twitter

©2022 by Sarup.online Proudly created by Aktivist Group

bottom of page